วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

My Design Hero

จากการศึกษาในสาขาวิชาด้านออกแบบมา 3 ปี นักศึกษาได้พบ เห็น ดู สัมผัส ชื่นชมงานของนักออกแบบไทยและต่างประเทศที่มีความหลากหลายทางความคิด เชื้อชาติ สายพันธุ์ ยุคสมัย วัฒนธรรม ความเชื่อ เทคโนโลยี ฯลฯ
จึงขอให้นักศึกษาเลือกนักออกแบบที่ตนเองชื่นชม ประทับใจในผลงาน แนวความคิด วิธีนำเสนอ หนึ่งคน นำมา post ใน blog ของตนเอง โดยแสดง. . .

ชื่อ / สัญชาติ / ช่วงเวลา / ประวัติคร่าวๆ / ตัวอย่างผลงาน / แนวความคิด / วิธีการนำเสนอ
เหตุผลของตัวนักศึกษาเอง + การวิเคราะห์ ว่าเหตุใดจึงชอบ? ชอบเพราะอะไร? ผลงานของนักออกแบบนั้นๆ สื่อสารสิ่งใด? ส่งผลต่อผู้รับสารและสังคมส่วนรวมอย่างไร?



คนแรก คือ ศิกานต์ เตชะคฤห เจ้าของ brand Studio Aiko (อาจารย์ไอ)

Studioaiko เป็น กราฟฟิก ดีไซน์ และ สตูดิโอออกแบบที่ตั้งอยู่ ใน กรุงเทพฯ ประเทศไทย ก่อตั้ง โดย ศิกานต์ เตชะคฤห
ใน ปี 2006 Studioaiko ทำงานตามสไตล์ของตัวเอง โดยมีลูกค้าจากหลายประเทศมากมาย เช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง - ฮ่องกง, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น และ อังกฤษ
Studioaiko รับออกแบบ ตัว อักษร การออกแบบ กราฟิก เว็บ ออกแบบ ภาพประกอบ และ แอนิเมชั่น นอกจากนี้ ยัง เป็น อาจารย์พิเศษ ของ คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,ในวิชาออกแบบคาแรคเตอร์ดีไซน์





ตัวอย่างของงาน Studio Aiko ถ้าใครสนใจก็เข้าไปดูกันได้นะครับ www.studioaiko.com

งานของสตูดิโอไอโกะเป็นแบรนด์ออกแบบคาร์เตอร์ดีไซน์ สัญชาติไทยที่มีเอกลักษณ์เป็นแบบฉบับของตัวเอง
ถึงจะไม่ได้ดูไทยจ๋า แต่ก็ ไม่ได้เป็นสไตล์ตะวันตกไปเลยซะทีเดียว ส่วนตัวผมแล้วสาเหตุที่เข้าเรียนในสาขาวิชาออกแบบ
ก็เริ่มจากขีดๆเขียนๆชอบวาดการ์ตูน คิดแค่ว่าชอบวาดการ์ตูนแค่นั้นผมก็พัวพันกับการวาดการ์ตูนตลอดปี 1-2
พอดีตอนนั้นเพื่อนเห็นว่าผมเป็นคนชอบงานคาแรคเตอร์ดีไซด์ ก็ส่งเวปของสตูดิโอไอโกะให้ดู
ผมก็รู้สึกว่าเอ้อ เห้ยนี่ใช่เลยที่เราที่เราอยากทำเลยแบบนี้ ก็ไปศึกษาเพิ่มเติมเป็นแรงบันดาลใจให้ทำงานคาแรคเตอร์ดีไซด์
ก็ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ไอก็ได้ทำงานเกี่ยวกับคาแรคเตอร์ดีไซด์อยู่ซักพักหนึ่ง

ตัวอย่างผลงานคาแรคเตอร์ดีไซด์ของผมนะครับ



และก็มีโลโก้ในแบบคาร์แรคเตอร์โลโก้ ที่ดูเยอะแยะไปหมด แต่ผมก็ชอบมันนะ ฮ่าๆ




จริงๆยังมีอีก 2 คนครับแต่วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วจะมาอัพใหม่ครับ

doubtsmile :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น